คุณซื้อรองเท้ากับร้านรองเท้าหนังผู้ชายคร้ังสุดท้ายเมื่อไหร่ ? เมื่อวาน เดือนที่แล้ว ปีที่แล้ว หรือ มากกว่า 2-3 ปีที่ผ่านมา แล้วร้านรองเท้าที่ซื้อมาละเป็นแบบไหน ก่อนอื่นขอแยกประเภทของร้านรองเท้าหนัง เพื่อที่จะเข้าใจบทความนี้มากยิ่งขึ้น
ร้านรองเท้าหนังผู้ชายในไทยมี 5 ประเภท
ประเภทแรกอยู่ในห้างสรรพสินค้า มีหลายแบรนด์ให้เลือก เมื่อคุณอยากได้รองเท้าแบบไหนก็แค่ไปเดินดูที่โซนรองเท้าผู้ชาย ชอบคู่ไหนก็เรียกพนักงานเอารองเท้ามาลอง ถ้าใส่พอดีก็ซื้อใส่ไม่พอดีก็เดินดูไปเรื่อยๆ รองเท้าแบบนี้เรียก Ready-to-Wear
ประเภทที่สอง คือร้านรองเท้าหนังผู้ชายที่อยู่ในห้างหรืออยู่ตามอาคารพาณิชย์หรือตลาดนัดใหญ่ๆ อาจจะมีแบรนด์เดียวหรือหลายๆแบรนด์ในร้านรวมกัน ร้านประเภทนี้ส่วนมากจะไปสั่งผลิตกับโรงงานผลิตรองเท้าผลิตแบบละ 20-50 คู่ ว่ากันไป หรือไปรับมาจากโรงงานในจีนแล้วมาปั้มแบรนด์ตัวเองก็มี รองเท้าแบบนี้ก็ยังเรียกว่า Ready-to-Wear
ประเภทที่สาม ปัจจุบันมีเยอะมาก นั้นคือ ร้านขายรองเท้าออนไลน์ ร้านประเภทนี้ก็เปลี่ยนจากร้านประเภทที่สองไปขายอยู่บนโลกออนไลน์นั้นเอง รองเท้าแบบนี้ก็ยังเรียกว่า Ready-to-Wear
ประเภทที่สี่ ร้านรับผลิตรองเท้า ร้านประเภทนี้แต่ก่อนรับจ้างผลิตอย่างเดียว ปัจจุบัน ลูกหลานของร้านตัดรองเท้าประเภทนี้เริ่มทยอยออกมาทำขายเอง อาจจะรับผลิตรองเท้าหนังด้วยและขายรองเท้าหนังออนไลน์ไปในเวลาเดียวกัน
แล้วร้านประเภทไหนเป็นร้านรองเท้าหนังผู้ชายแบบ Made-to-Measure ละ?
ร้านตัดรองเท้าหนังประเภทที่สองกับประเภทที่สี่ครับ เหตุผลคือร้านตัดรองเท้าประเภทที่สองเมื่อสั่งโรงงานผลิตรองเท้าให้แล้วในระยะหนึ่งจะเริ่มรู้เรื่องการผลิตทั้งหมด เมื่อมีการสั่งตัดทีละคู่ก็อาศัยให้โรงงานทำให้ ผ่านไปสักระยะหนึ่งร้านประเภทนี้เริ่มอยากคุมการผลิตเอง เพราะที่ได้สอบถามส่วนมากจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร การส่งงานล่าช้า ได้รองเท้าไม่ตรงตามต้องการ คือเอารองเท้าของต่างประเทศมาให้โรงงานในไทยทำและคาดหวังว่าจะต้องเหมือนกัน 100 % เมื่อไม่ได้ดั่งใจก็ออกมาลุยเองตั้งแต่ต้นจนจบดีกว่า มีหลายแบรนด์ครับที่เห็นในตลาดรองเท้าหนังผู้ชาย ร้านรองเท้าหนังผู้ชายประเภทนี้เมื่อออกมาทำเต็มตัวแล้วจะเริ่มมีรับสั่งตัดรองเท้าด้วยเพราะมีช่างทำรองเท้าอยู่ในมือ แต่ก็มีหลายร้านที่ไม่ได้ออกมาทำเต็มตัว แต่ก็มีการรับสั่งตัดรองเท้าอยู่แล้ว ราคาขายก็จะสูงกว่ารองเท้าที่วางอยู่ในร้าน ส่วนร้านขายรองเท้าประเภทที่สี่อยากให้มองกลับกัน คือรับจ้างผลิตให้กับร้านขายรองเท้าประเภทที่สอง ไม่มีรองเท้า Ready-to-Wear แต่ก็รับตัดแบบ Made-to-Measure ลูกค้าทั่วไปด้วย
แล้ว ร้านตัดรองเท้า MTM หรือ Made-to-Measure คืออะไร
จริงๆการสั่งตัดรองเท้ามีมานานแล้วครับ แต่เพิ่งมีการเอาคำศัพท์ MTM หรือ Made-to-Measure Shoes มาพูดกัน อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ ร้านรองเท้าหนังที่รับสั่งตัดรองเท้าตามรูปเท้าของลูกค้าแต่ละคนโดยใช้หุ่นรองเท้าของที่ร้านทำให้นั้นเอง เพราะเท้าของคนเราไม่เท่ากัน ร้านที่ขายรองเท้าทั่วไปเค้าผลิตรองเท้าตามหุ่นรองเท้าที่เป็นมาตราฐาน เมื่อเท้าเราเล็กหรือใหญ่เกินกว่าไซส์มาตราฐานก็จะทำให้เราใส่รองเท้านั้นไม่พอดี หลักการในการทำรองเท้าแบบ MTM ก็คือเอาขนาดเท้าของลูกค้ามาเทียบกับหุ่นรองเท้า ถ้าส่วนไหนใหญ่กว่าหุ่นรองเท้าก็ไปแก้ไขที่จุดนั้น เช่น กระดูกบริเวณนิ้วก้อยใหญ่ไป รองเท้าร้านทั่วไปจะใส่แล้วเจ็บ เมื่อทำการวัดเท้าแล้วเอามาเทียบกับหุ่นรองเท้า ปรากฎว่าต้องเพิ่มความกว้างรอบเท้าอีก 1 เซนติเมตร ช่างทำรองเท้าก็จะเอาหนังมาประกบหุ่นรองเท้าส่วนนั้น เวลาดึงเข้ารูปส่วนที่ประกบก็จะใหญ่กว่ารองเท้านิดนึง ก็จะทำให้พอดีกับรอบเท้าของลูกค้า การประกบหนังที่หุ่นรองเท้าภาษาคนทำรองเท้าจะเรียกว่าการพอกหนัง มีตั้งแต่พอกด้านข้างนอก พอกด้านในหรือพอกหน้าหลัง การพอกต้องอาศัยเทคนิคของช่างแต่ละคน ถ้าคนทำไม่เนียนรองเท้าที่ทำออกมาแล้วหนังส่วนที่พอกจะมีความนูนไม่สวย ส่วนแบบรองเท้านั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละร้านว่าจะใช้แบบของที่ร้านหรือแบบที่ลูกค้าเอามาให้
แล้วจะเลือกร้านตัดรองเท้าที่ไหนดี
ผมว่าปัจจุบัน ลูกหลานร้านรองเท้าผู้ชายเริ่มออกมาประกาศให้คนทั่วไปรู้จักร้านตัดรองเท้าของตัวเองมากขึ้น ร้านรองเท้าหนังผู้ชายบางร้านก็โชว์ความสามารถในการสั่งตัดรองเท้าได้เหมือนทุกแบรนด์ ทำตามรูปรองเท้าที่ลูกค้าเอามาให้ดูเพื่อที่จะทำให้เหมือนมากที่สุด ไม่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง หรือบางร้านก็ยังคงทำแบบและทรงรองเท้าหนังเหมือนที่รุ่นพ่อเคยทำแต่อาศัยจุดเด่นในเรื่องของราคาที่ถูกมากๆ เพราะวัตถุดิบและค่าแรงของช่างทำรองเท้าสามารถควบคุมได้ บางร้านที่มีหน้าร้านดีๆ ชื่อเสียงของแบรนด์เป็นที่รู้จัก มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ก็ตัดรองเท้าได้ดีเช่นกัน การจะเลือกร้านตัดรองเท้าผมว่าขึ้นอยู่กับความพึงพอใจและงบประมาณของแต่ละคน เพราะสุดท้ายแล้วผลลัพท์คืออยากได้รองเท้าที่ดูดีและเข้ากับรูปเท้าของเรานั้นเอง